วันพุธที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2563

วิตามินและเกลือแร่

วิตามินเเละเกลือเเร่

วิตามินหรือไวตามิน คือสารอินทรีย์ที่จำเป็นสำหรับปฏิกิริยาเคมีในร่างกายวิตามินเป็นสารอาหารที่ไม่ให้พลังงานแก่ร่างกาย ร่างกายต้องการในปริมาณน้อยมาก แต่ขาดไม่ได้ ถ้าขาดจะทำให้ระบบอวัยวะต่างๆในร่างกายทำงานผิดปกติวิตามินบางตัวสังเคราะห์ขึ้นได้เพียงพอในร่างกาย บางตัวก็สังเคราะห์ไม่ได้ หรือสังเคราะห์ได้ แต่ไม่พอจำเป็นต้องได้รับจากอาหาร

 

ประเภทของวิตามิน

1. วิตามินที่ละลายในไขมันได้แก่ เอ ดี อี และ เค
2. วิตามินที่ละลายน้ำ ได้แก่ วิตามินบีรวม และซี

  วิตามินที่ละลายในไขมัน

1.วิตามินเอ

ประโยชน์- ช่วยบำรุงสายตา และแก้โรคตามัวตอนกลางคืน- ช่วยให้กระดูก และฟันแข็งแรง- ช่วยสร้างความต้านทานให้ระบบหายใจ- ช่วยลดการอักเสบของสิวและช่วยลบจุดด่างดำ

แหล่งที่พบ- ผักและผลไม้ที่มีสีเหลืองส้ม แดง และเขียวเข้ม- ตับ- เนย- ไข่แดง- นมสด- หอยนางรม

อันตรายจากการขาดวิตามิน- ทำให้มองเห็นได้ยากในเวลากลางคืน- ทำให้ผิวพรรณขาดความชุ่มชื้น- ทำให้ติดเชื้อได้ง่าย

 

 2.วิตามินดี

ประโยชน์- ช่วยดูดซึมแคลเซียม- ควบคุมปริมาณแคลเซียมในร่างกาย- ช่วยในการสร้างกระดูกและฟัน

แหล่งที่พบ- ไข่- ปลา- แสงแดด- น้ำมันตับปลา- นม เนย

อันตรายจากการขาดวิตามิน- ปวดข้อและกระดูก- ปวดเมื่อย- กระดูกหักง่าย

 3.วิตามินอี

ประโยชน์- ช่วยการทำงานของระบบประสาท ระบบสืบพันธุ์และกล้ามเนื้อ- ช่วยป้องกันการแตกสลายของเยื้อหุ้มเซลล์

แหล่งที่พบ- น้ำมันพืช- เมล็ดทานตะวัน- ถั่วต่าง - ผักสีเขียวปนเหลือง- มันเทศ

อันตรายจากการขาดวิตามิน- มีผลต่อระบบประสาท- เป็นโรคโลหิตจาง

4.วิตามินเค

ประโยชน์- ช่วยในการแข็งตัวของเลือด- เป็นองค์ประกอบสำคัญของกระดูก

แหล่งที่พบ- บรอกโคลี- ผักกะหล่ำ- ไข่แดง- น้ำมันถั่งเลือง- น้ำมันตับปลา

อันตรายจากการขาดวิตามิน- เลือดไหลไม่หยุด- มีผลต่อระบบการดูดซึมในร่างกาย

       วิตามินที่ละลายน้ำ

1.วิตามินบีรวม

 วิตามินบี 1

ประโยชน์- ช่วยในการเจริญเติบโตของร่างกาย- ช่วยในการทำงานของระบบประสาท หัวใจและกล้ามเนื้อ- ช่วยเพิ่มการเผาผลาญคาร์โบไฮเดรต

แหล่งที่พบ- ธัญพืช ข้าวซ้อมมือ- ถั่วต่าง - งา- ขนมปังขาว

อันตรายจากการขาดวิตามิน- เหนื่อยง่าย- เบื่ออาหาร- ปวดกล้ามเนื้อ- เป็นตะคริว- เป็นโรคเหน็บชาตามมือและเท้า

    วิตามินบี 2

ประโยชน์- ช่วยในการเผาผลาญไขมัน-ช่วยในการเผาผลาญกรดอะมิโนทริปโตเฟน- เป็นส่วนประกอบสำคัญของสีที่เรตินาของลูกตา

แหล่งที่พบ- ยีสต์- ไข่- นมสด- เนย- เนื้อสัตว์- ผักใบเขียว

อันตรายจากการขาดวิตามิน- เหนื่อยง่าย- เบื่ออาหาร- เป็นแผลที่มุมปากหรือโรคปากนกกระจอก

     วิตามินบี 3

ประโยชน์- ช่วยรักษาโรคไมเกรน- ช่วยลดความดันโลหิตสูง- ช่วยในการเผาผลาญคาร์โบไฮเดรต- ช่วยรักษาโรคเกี่ยวกับความผิดปกติทางสมอง

แหล่งที่พบ- เนื้อหมู เนื้อวัว- ขนมปังโฮลมีล- ไข่- เนย

อันตรายจากการขาดวิตามิน- เกิดความผิดปกติของระบบทางเดินอาหารและระบบประสาท

  วิตามินบี 5

ประโยชน์- ช่วยสร้างฮอร์โมนจากต่อมหมวกไต และภูมิคุ้มกัน- ช่วยให้บาดแผลหายเร็ว- ช่วยในการเปลี่ยนไขมัมันเป็นน้ำตาล

แหล่งที่พบ- เครื่องในสัตว์- ตับ- งา- ถั่วลิสง- เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย

อันตรายจากการขาดวิตามิน- เบื่ออาหาร- นอนไม่หลับ

    วิตามินบี 6

ประโยชน์- ช่วยสร้างเซลล์เม็ดเลือด- ช่วยรักษาสภาพผิวหนังให้เป็นปกติ- ช่วยร่างกายสร้างน้ำย่อยในกระเพาอาหาร- ช่วยในการเผาผลาญโปรตีน

แหล่งที่พบ- เนื้อสัตว์- ตับ- กล้วย- ผักต่าง - ปลา

อันตรายจากการขาดวิตามิน- เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย- เป็นโรคหลอดเลือดอุดตัน- เป็นโรคโลหิตจาง

     วิตามินบี 12

ประโยชน์- ช่วยสร้างเม็ดเลือดแดง- ช่วยการทำงานของระบบประสาท- ช่วยในการเจริญเติบโต

แหล่งที่พบ- เนื้อสัตว์- ตับ- ไข่- นม เนย

อันตรายจากการขาดวิตามิน- เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย- เป็นโรคโลหิตจาง- เกิดความบกพร่องของระบบประสาท

3.วิตามินอี

ประโยชน์- ช่วยการทำงานของระบบประสาท ระบบสืบพันธุ์และกล้ามเนื้อ- ช่วยป้องกัน

แหล่งที่พบ- น้ำมันพืช- เมล็ดทานตะวัน- ถั่วต่าง - ผักสีเขียวปนเหลือง- มันเทศ

อันตรายจากการขาดวิตามิน- มีผลต่อระบบประสาท- เป็นโรคโลหิตจาง

ส่วนประกอบและคุณสมบัติ
 1.  วิตามินที่ละลายไขมัน ประกอบด้วยคาร์บอน ไฮโดรเจน และออกวิเจนเท่านั้น ส่วนวิตามินที่ละลายในน้ำประกอบด้วยธาติข้างต้นและมีธาตุอื่นด้วย เช่น ไนโตร เจน กำมะถัน หรือโคบอลต์
2.  วิตามินส่วนใหญ่มาจากพืช ที่มาจากสัตว์นั้นมักเป็นผลที่มาจากการกินพืชเพราะจุลินทรีย์ในลำไส้สังเคราะห์วิตามินนั้นขึ้น
3.  วิตามินที่ละลายในไขมันต่างกับวิตามินที่ละลายในน้ำที่ว่าวิตามินที่ละลายในไขมันมักเกิดในพืชในรูปของโพรวิตามิน (Provitamins) และสามารถเปลี่ยน เป็นวิตามินได้ในร่างกายคนหรือสัตว์ส่วนวิตามินที่ละลายน้ำไม่เกิดในรูปโพรวิตามิน สำหรับกรดอะมิโนทริปโตเฟนที่สามารถเปลี่ยนเป็นไนอะซินได้นั้นก็ไม่ถือเป็นโพรวิ ตะมิน
4.  การดูดซึมการขนส่งและการเก็บวิตามินที่ละลายในไขมันต้องอาศัยไขมันเป็นสื่อสารใดก็ตามที่ทำให้ไขมันดูดซึมใช้ และเก็บดีขึ้นจะช่วยให้วิตามินที่ละลายใน ไขมันดูดซึมใช้ และเก็บดีขึ้นด้วยส่วนวิตามินที่ละลายน้ำนั้นอาศัยน้ำเป็นสื่อ
5.  ร่างกายเก็บไขมันได้ไม่จำกัดจำนวน ดังนั้นจึงสามารถเก็บวิตามินที่ละลายในไขมันไว้ได้ โดยไม่จำกัดจำนวนด้วยทำให้เกิดสภาพที่มีวิตามินที่ละลายในไขมัน มากเกินไป (Hypervitaminosis) ได้ ส่วนวิตามินที่ละลายน้ำจะไม่เก็บสะสมในร่างกาย ถ้ามีมากเกินไปก็จะขับถ่ายออกมาทางปัสสาวะ
6.  การขับถ่ายวิตามินที่ละลานในไขมันจะออกมากับอุจจาระเป็นส่วนใหญ่ส่วนวิตามินที่ละลายน้ำส่วนใหญ่ออกมากับปัสสาวะส่วนน้อยออกมากับอุจจาระ
7.  การหุงต้มปกติมีผลน้อยมากต่อการสลายตัวของวิตามินที่ละลายในไขมันส่วนวิตามินที่ละลายในน้ำสลายตัวได้ง่าย การสูญเสียจะมากน้อยขึ้นกับปริมาณของน้ำ ที่ใช้หุงต้ม ระยะเวลา และอุณหภูมิของการหุงต้ม

หน้าที่ของวิตามิน                                                                                                                                      

 1. เป็นส่วนประกอบของเอนไซม์และโคเอนไซม์หลายตัวในร่างกาย
 2. จำเป็นสำหรับปฏิกิริยาเคมีต่างๆ ในร่างกาย เช่น ปฏิกิริยาเคมีที่เกี่ยวกับการเผาผลาญสารอาหารคาร์โบไฮเดรต ไขมัน และโปรตีน
 3. ช่วยในการเจริญเติบโตสัตว์ที่กำลังมีครรภ์ถ้าขาดวิตามินลูกที่ออกมามักไม่สมประกอบ
 4. ช่วยให้อวัยวะต่างๆ ทำงานตามปกติหรือทำให้ร่างกายแข็งแรง 
 
                       

การทำงานของวิตามิน                                                                                                                           

      ถ้าคุณลองสมมติว่าร่างกายของคนเราเป็นเครื่องยนต์ของรถ วิตามินก็คือหัวเทียน คุณคงพอจะเข้าใจมากขึ้นแล้วสินะว่าสารอาหารเล็กๆ อันแสนมหัศจรรย์เหล่านี้มีความสำคัญต่อร่างกายอย่างไร วิตามินเป็นส่วนหนึ่งของระบบเอนไซม์ที่ทำงานคล้ายกับหัวเทียน ให้พลังงานและควบคุมการสันดาปของร่างกาย ช่วยให้เรามีเรี่ยวแรงและทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด หากเปรียบเทียบกับการรับประทานสารอาหารในกลุ่มอื่น เช่น โปรตีน ไขมัน หรือคาร์โบไฮเดรต ปริมาณการรับประทานวิตามินของเรา (แม้แต่ในสูตรที่รับประทานเป็นปริมาณสูง) ถือว่าน้อยมาก แต่การขาดวิตามินแม้เพียงตัวเดียวก็สามารถทำให้เกิดอันตรายกับร่างกายทุกส่วนได้

 


                  

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น